โบทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin) เป็นสารพิษ (Toxin) ที่ได้จากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (Neurotoxin) ทำให้กล้ามเนื้อขาดการรับรู้การสั่งงานจากเซลล์ประสาท มีผลทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวชั่วคราว

Botulinum toxin เหมาะสำหรับ

  • ลดริ้วรอยบริเวณรอยย่นหน้าผาก ระหว่างคิ้ว หางตา ย่นจมูก การแสดงสีหน้าต่างๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อบนใบหน้าทำงานหนัก จึงเกิดริ้วรอยและร่องลึก เช่นการยิ้ม การเลิกหน้าผาก การขมวดคิ้วเป็นประจำ และช่วยปรับรูปคิ้ว
  • ปรับรูปหน้าเรียวเล็ก สำหรับคนที่มีกรามใหญ่จากกล้ามเนื้อ ทำให้หน้าบานและกว้างไม่เรียว กล้ามเนื้อกรามที่ดูใหญ่นั้นสาเหตุหลักมาจากการใช้งานมากๆ เช่น การเคี้ยวอาหารที่แข็งต้องใช้แรงเคี้ยว การนอนกัดฟัน หรือ เกิดจากกรรมพันธุ์
  • ปรับรูปน่องเรียวเล็ก สำหรับคนที่ผู้ที่มีขาใหญ่จากการใช้กล้ามเนื้อน่องเยอะ เช่น เดินขึ้นลงบันได ปั่นจักรยาน และการวิ่งเป็นต้น
  • ลดการทำงานของต่อมเหงื่อ บริเวณรักแร้ ฝ่ามือฝ่าเท้า
  • ทำให้เซลล์ผิวหนังหดตัว กระตุ้นการสร้างคอลาเจนใหม่ใต้ผิว เพื่อให้ใบหน้าดูยกกระชับ ลดรอยย่นบริเวณลำคอ และลดรูขุมขนกว้าง
  • รักษาไมเกรน รักษาลดอาการปวดหัวไมเกรนได้โดยอ้างอิงจากหลักการทำงานของโบท็อกซ์ที่ยับยั้งไม่ให้กล้ามเนื้อหดตัวได้ชั่วคราว ทำให้อาการปวดไมเกรนลดลง
  • รักษา Office syndrome ด้วยท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณหลัง
  • รักษาภาวะ กล้ามเนื้อกระตุก

ความแตกต่างของ Botulinum Toxin แต่ละยี่ห้อที่ได้รับการรองรับจาก Thai FDA

เปรียบเทียบโบท็อก

ข้อมูลอ้างอิงจาก link.stringer และ ncbi.nlm.nih.gov

ปริมาณการใช้โบทอกซ์แต่ละจุด

การเลือกใช้ตัวโบทอกซ์นั้นจะต้องเลือกที่เหมาะสมกับบริเวณที่ต้องการแก้ไข ปริมาณที่ใช้จะขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องการแก้ไข ความต้องการและความพึงพอใจในแต่ละราย โดยแพทย์จะประเมินการใช้ยาตามความเหมาะสมของแต่ละปัญหาแต่ละบุคคล แต่ละจุดจะสามารถบอกได้ในปริมาณที่คร่าวๆ ดังนี้

  • หน้าผาก ใช้ประมาณ 1020 Unit (U)
  • หว่างคิ้ว ใช้ประมาณ 820 U
  • ปรับรูปคิ้ว ใช้ประมาณ 610 U
  • หางตา ใช้ประมาณ 1220 U
  • ย่นจมูก ใช้ประมาณ 48 U
  • ปีกจมูก ยกปลายจมูก ใช้ประมาณ 412 U
  • กราม ใช้ประมาณข้างละ 2530 U
  • กระชับรูขุมขน ใช้ประมาณ 2530 U
  • ลิฟต์หน้าหรือคอ ใช้ประมาณ 3050 U
  • รักแร้ ใช้ประมาณ 80100 U
  • น่อง ใช้ประมาณ 100200 U

การดื้อยา Botulinum toxin

การฉีดโบท็อกซ์ที่ “บ่อย” และ “ถี่” หรือ ตัวยาที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนประกอบของตัวยาจะกระตุ้นให้ร่างการสร้างภูมิต้านทานขึ้น ทำให้เกิดการดื้อยา การฉีดครั้งถัดๆไป เห็นผลน้อยลงกว่าเดิม เห็นผลไม่นานเท่าเดิม หรือไม่เห็นผลเลย

ถ้าดื้อยาจนฉีดแล้วไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง แนะนำให้พักจากการฉีดโบท็อกซ์ไปเลย 2-3 ปี ถึงจะสามารถกลับมาฉีดได้อีก

การเตรียมตัวก่อนการฉีด Botulinum toxin

  • เลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน แพทย์มีความชำนาญ
  • ตรวจสอบโบท็อกซ์ก่อนฉีดทุกครั้งเพื่อให้มั่นใจได้ว่าฉีดของแท้ได้มาตรฐาน วิธีการตรวจสอบ
  • งดใช้ยากลุ่มกรดวิตามิน A, AHA, สครับหน้า, ขัดหน้า ก่อนฉีด 24 ชั่วโมง
  • งดแอลกอฮอล์ ก่อนฉีด 24 ชั่วโมง
  • งดใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS ได้แก่ Brufen, Naproxen, Motrin วิตามินที่ทำให้เลือดหยุดไหลได้ยาก เช่น วิตามินอี น้ำมันปลา สารสกัดจากโสม ใบแปะก๊วย เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ เพื่อลดการเกิดรอยฟกช้ำ 
  • ในรายที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • หากมีโรคประจำตัว ประวัติของโรคเริมบริเวณฝีปาก ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งก่อนฉีดโบท็อกซ์

ขั้นตอนการฉีด Botulinum toxin

  • เช็ดเพื่อทำความสะอาดผิวในบริเวณที่รักษา
  • ทายาชาหรือประคบเย็นในบริเวณที่ต้องการรักษา เพื่อลดอาการเจ็บ
  • ทำการรักษาโดยการฉีดยาตำแหน่งที่ต้องการ
  • เมื่อทำการรักษาแล้ว ทำความสะอาดผิว
  • ระยะเวลาในการฉีด Botulinum toxin

ระยะเวลาในการฉีด Botulinum toxin

  • หากทายาชา ใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที
  • หากประคบเย็น ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที

การดูแลหลังฉีด Botulinum toxin

  • งดการกด การนวดบริเวณที่ฉีด เพราะจะส่งผลต่อการกระจายตัวของตัวยาไปกล้ามเนื้ออื่นที่ไม่ต้องการได้
  • งดนอนราบ 3-4 ชั่วโมงหลังฉีด
  • งดการทายาหรือเครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเช่น กรดวิตามินเอ AHA วิตามินซีเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังฉีด
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่นล้างหน้า การอบไอน้ำ ทรีทเม้นท์ หรือเลเซอร์หลังฉีด 2 สัปดาห์
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์หลังฉีด 1-2 สัปดาห์
  • งดการแต่งหน้าหลังฉีดโบท็อกซ์ภายในวันดังกล่าว
  • หลังฉีดสามารถล้างหน้าทาครีมบำรุงได้ตามปกติ
  • พยายามขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีด ประมาณ 30 นาที  เพื่อช่วยให้โบท็อกซ์กระจายตัวได้ดีขึ้น
  • สามารถใช้น้ำแข็งประคบในกรณีที่มีอาการบวมแดงหรือช้ำได้
  • กลับมาพบแพทย์เมื่อมีข้อสงสัยหรือสิ่งผิดปกติใดๆ 

ข้อห้ามในการฉีด Botulinum toxin

  • คนที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • คนที่มีประวัติแพ้โบท็อกซ์
  • คนที่มีผิวหนังอักเสบ หรือติดเชื้อในบริเวณที่จะฉีด

ผลข้างเคียงในการฉีด Botulinum toxin

  • พบได้น้อย และไม่ได้อันตรายถึงชีวิต ผลข้างเคียงเหล่านี้มักเป็นเล็กน้อยหรือปานกลาง และมักหายไปเอง
  • จ้ำแดงๆ บวม ช้ำ เขียว บริเวณที่ฉีด หายเองได้ใน 5-7 วัน
  • ปวดศีรษะหรือความรู้สึกเจ็บ คัน บริเวณที่ฉีด
  • หางคิ้วกระดก  คิ้วหรือหนังตาตก มุมปากตกชั่วคราว ยิ้มเบี้ยว จากการกระจายไปยังกล้ามเนื้อที่ไม่ต้องการ
  • หน้าแข็งตึงเกินไป จากปริมาณยามากเกิน
  • การติดเชื้อในตำแหน่งที่ฉีด จากโบท็อกซ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมีการเก็บรักษาที่ไม่ดีจนมีการปนเปื้อน
  • ผิวหนังบริเวณที่ฉีดยุบตัวลง พบได้น้อย สันนิษฐานว่าเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณนั้นฝ่อตัวลงชั่วคราว แต่สามารถหายได้เอง)